วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15 30/09/2553

สวัสดีค่ะอาจารย์ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนทำป้ายนิเทศจากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ได้สั่งให้นำกระดาษลังมา ตอนแรกดิฉันก็ไม่เข้าใจว่า ป้ายนิเทศ คืออะไร แล้วอาจารย์ก็ได้อธิบายให้ฟัง จนรู้ว่าป้ายนิเทศ คือ การจัดหน่วยการเรียนรู้เรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น หน่วยผัก ว่าผักมีชื่อผักอะไรบ้าง หน่วยผลไม้ หน่วยเคื่องใช้ไฟฟ้า ว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้าง หน่วยสัตว์ ว่าสัตว์มีชื่อสัตว์อะไรบ้าง เป็นต้น เป็นการบอกให้เด็กรู้ว่าแต่ละสัปดาห์ต้องเรียนเรื่องอะไร และจากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำป้ายนิเทศเป็นรายบุคคลต้องทำให้เสร็จแล้วส่งภายในคาบเรียน โดยอาจารย์จะมีอุปกรณ์ในการทำให้ดังนี้ เช่น กาว กระดาษสี สีแดง,เหลือง,เขียว,ส้ม เป็นต้น สีช็อล์ก กรรไกร ซึ่งป้ายนิเทศของฉันทำเรื่อง หน่วยเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ก็จะเป็นเครื่องใช้ที่เด็กรู้จักในชีวิตประจำวัน เช่น เสื้อ กางเกง ถุงเท้า รองเท้า หมวก แว่นตา เข็มขัด เป็นต้น และมีวิธีการทำป้ายนิเทศดังนี้
1. ใช้กรรไกรตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมตามที่ต้องการ
2. นำกระดาษสีมาตัดสำหรับทำเป็นแบล็คกราว ตัดให้เท่ากับขนาดของกระดาษลังที่ตัดไว้ จากนั้นก็ติดกาวที่กระดาษ และนำมาติดที่กระดาษลัง
3. เขียนชื่อหน่วยที่จะทำลงในกระดาษ แล้วตัดชื่อหน่วย นำมาติดบนกระดาษลังที่เตรียมไว้
4. จากนั้นก็วาดรูป และระบายสี เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆแล้วตัดรูปทากาวมาติดในกระดาษลังก็จะได้ป้ายนิเทศที่เสร็จสมบูรณ์ และตกแต่งเพิ่มเติมได้
และหลังจากทำป้ายนิเทศเสร็จ อาจารย์ให้ทำแบบประเมินของอาจารย์ และเมื่ออาจารย์นำมาดูสรุปว่ามีเพื่อนๆประเมินเป็นคะแนน 3บ้าง 2และ1 บ้าง หมายถึง ปานกลาง บ้างเป็นบางครั้ง หรือน้อย แต่ไม่มีเหตุผล และไม่มีการแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงว่าควรเป็นอย่างไร อาจารย์จึงให้นักศึกษาทุกคนไปเขียนแสดงความคิดเห็นในการประเมินอาจารย์มาส่งในคาบหน้าที่จะสอบ มีทั้งหมด 9 ข้อ คือ
1. บุคลิกภาพที่ควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับการเป็นครู
2. งานชิ้นใดที่ท่านเห็นว่าไม่เหมาะกับวิชา
3. งานชิ้นใดไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง
4. ท่านคิดว่าควรเพิ่มเติมการสอนแบบใด เพื่อให้มีความหลากหลาย
5. ข้อเสนอแนะ เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน
6. คุณครูควรปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม อย่างไร เพื่อให้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
7. การชี้แจง วัตถุประสงค์ แผนการเรียน อาจารย์ควรปฏิบัติอย่างไร
8. อาจารย์ควรแสดงความเมตตาเพิ่มในเรื่องใด
9. อาจารย์ไม่สอนตรงเนื้อหาในเรื่องใด

ความรู้สึกในการเรียนวันนี้ ในการเรียนวันนี้ รู้สึกสนุกกับการได้นั่งทำงานกับเพื่อนๆ เนื่องจากอาจารย์ให้ใช้อุปกรณ์รวมกัน จึงได้เห็นการมีน้ำใจของเพื่อน รู้จักแบ่งปัน ส่วนนี้สะท้อนให้เห็นว่าเพื่อนไม่เห็นแก่ตัว ไม่ใช้กระดาษ หรือสีเฉพาะกลุ่มของตนที่นั่งทำงานกัน
บรรยากาศภายในห้อง บรรยากาศสำหรับการเรียนในวันนี้ได้มาเรียนที่ชั้น2 บรรยากาศน่าเรียน ไม่น่าเบื่อ อยากเรียน การเรียนในวันนี้ก็มีความเข้าใจมากขึ้น เพราะได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง และงานที่ทำอาจจะไม่สวย เพราะมีเวลาจำกัด แต่สำหรับดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่อาจารย์ให้ทำงานแล้วส่งในคาบจะได้ไม่มีงานค้างคา


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14 23/09/2553

สวัสดีค่ะอาจารย์ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียน การสอนในสอนวันนี้ อาจารย์ให้ออกมานำเสนองานที่มอบหมายให้ในคาบที่แล้ว คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นแป้งโดว์ และอาจารย์ให้นำเสนอวิธีการใช้อุปกรณ์ต่างๆที่หามา และบอกอุปกรณ์ที่หามาว่ามีอะไรบ้าง พร้อมทั้งเล่นให้อาจารย์ และเพื่อนๆดู และกลุ่มของดิฉันไปหามา คือ ฝาขวดน้ำ กระป๋องแป้ง แกนของเทปกาว หลอด เชือก จานรองขนม กล่องที่ใช้สำหรับใส่แป้งโดว์ และอุปกรณ์ต่างๆกลุ่มของดิฉันได้นำกล่องพัสดุที่เหลือใช้นำมาติดกระดาษสี และตกแต่งให้สวยงาม กระปุกที่ใช้ใส้แป้งโดว์นั้นก็จะเป็นกระปุกที่แถมมากับอย่างอื่น กลุ่มดิฉันเห็นว่าสามารถนำมาใช้ได้จึงนำมาเป็นที่ใส่แป้งโดว์ แป้งโดว์ที่กลุ่มของดิฉันทำมานั้นมีด้วยกัน 8 สี สีแดง, สีเหลือง, สีชมพูเข้ม, สีชมพูอ่อน, สีเขียวเข้ม, สีเขียวอ่อน, สีส้มเข้ม และสีส้มอ่อน และกระปุกที่ใส่แป้งโดว์แต่ละกระปุกนั้นก็จะมีสัญลักษณ์เป็นรูปดาว พร้อมทั้งระบายสีตามสีของแป้งที่ทำใช้สำหรับติดข้างๆกระปุก เพื่อที่จะเป็นตัวบอกว่ากระปุกนี้มีแป้งโดว์สีอะไร และเมื่อเด็กเล่นเสร็จเด็กสามารถที่จะเก็บแป้งโดว์แต่ละสีให้ถูกกระปุก แต่หากนำสัญลักษณ์มาติดบนฝาของกระปุกนั้น เมื่อเด็กเล่นอาจทำให้สลับฝากันได้ ส่วนฝาน้ำที่นำมานั้นนำมาเป็นแม่พิมพ์ ให้เด็กปั๊มเป็นรูป แกนของเทปกาว และกระป๋องแป้ง นำมาเป็นที่คลิงแป้ง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วอาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า อุปกรณ์ที่นำมาใช้เล่นจะต้องเป็นของที่เหลือใช้ หาได้ง่ายโดยไม่ต้องซื้อ เน้นประหยัด อุปกรณ์ที่นำมาเล่นต้องมีความแข็งแรง คงทน และที่สำคัญจะต้องมีความปลอกภัยสำหรับเด็ก ช่วงท้ายคาบ อาจารย์ได้พูดถึงเกี่ยวกับการทำบล็อกและเปิดบล็อกของเพื่อนให้ดูเป็นตัวอย่าง และให้คำแนะนำในการทำบล็อกว่าจะต้องเขียนความรู้สึก บรรยากาศในห้องป็นอย่างไร การเรียนมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด ก็ให้บอกมา และอาจารย์พูดคุย และร่วมแสดงความคิดเห็น เรื่องการจัดบอร์ด ว่าจัดในรูปแบบอย่างไร และหัวข้อที่จะติดน่าจะเป็นผลงาน ที่ชื่อว่าอะไรดี เพื่อนๆก็ได้เสนอกัน อาจารย์จะได้เตรียมอุปกรณ์ และวัสดุมาให้จัด

ความรู้สึกในการเรียนวันนี้ รู้สึกว่าการนำเสนองานทำให้รู้ว่าจะต้องใช้ความสามัคคีของเพื่อนๆภายในกลุ่ม และรู้สึกว่าอาจารย์ได้ให้ใช้ความคิดอย่างอิสระ ในการนำเสนองาน โดยที่อาจารย์จะไม่บอกว่าเล่นอย่างไร
บรรยากาศภายในห้อง ก็มาเรียนที่ชั้น 2 เหมือนเดิม บรรยากาศน่าเรียน และสำหรับการเรียนในวันนี้ดิฉันมีความเข้าใจมากค่ะ เพราะได้ออกมานำเสนองาน และฟังคำแนะนำจากอาจารย์ จึงเข้าใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้นั้นมีเยอะแยะมากมายที่อยู่รอบตัว โดยไม่จำเป็นจะต้องซื้อให้สินเปลืองค่ะ


วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13 16/09/2553

สวัสดีค่ะอาจารย์ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียน การสอนในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนทำแป้งโดว์ โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ6คน และแต่ละกลุ่มต้องเตรียมอุปกรณ์มาสำหรับที่จะทำแป้งโดว์ โดยกลุ่มของดิฉันได้เตรียมอุปกรณ์มาแต่เตรียมมาไม่ครบ สิ่งที่ไม่ครบ คือ กะละมัง น้ำมันมะกอก ตะหลิว ในส่วนที่มีไม่ครบนั้นก็จะใช้อุปกรณ์ของอาจารย์ ส่วนอุปกรณ์ที่กลุ่มของดิฉันได้เตรียมมา มีดังนี้ กะทะ แป้งสาลี สารส้มบดละเอียด เกลือ น้ำมันพืช

ส่วนผสมที่ใช้ทำแป้งโดว์
แป้งสาลี น้ำมันพืช น้ำมันมะกอก น้ำเปล่า สารส้มบดละเอียด เกลือ และสีผสมอาหาร

ขั้นตอนการทำแป้งโดว์
ตวงแป้งสาลี 2 ถ้วย ผสมเกลือ 2 ถ้วย สารส้มบดละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ ผสมเข้าให้เป็เนื้อเดียวกัน ใส่น้ำเปล่าให้แป้งเหลวพอสมควร จากนั้นก็นำไปตั้งไฟแล้วกวนให้แป้งสุกพอดีไม่เหลว หรือแห้งเกินไป แล้วยกลงจากไฟ จากนั้นก็นำแป้งที่ได้มาผสมกับสีผสมอาหารที่เตรียมไว้ เราก็จะได้แป้งโดว์ที่เล่นได้เหมือนดินน้ำมัน และปลอดภัยตามที่ต้องการ

การทำแป้งโดว์กลุ่มของดิฉันได้ทำถึง 2 ครั้ง การทำครั้งแรกมีปัญหาเล็กน้อย เนื่องจากแป้งจะแข็งตัวไปนิดนึง แต่ก็สามารถเล่นได้ และมีเกร็ดของสารส้มปะปนอยู่ในแป้งเป็นจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด แป้งที่ได้จึงทำให้ระคายมือ สาเหตุนั้นก็มาจากการบดสารส้มไม่ละเอียด เติมน้ำน้อยเกินไปจึงไม่สามารถตั้งไฟได้นาน สารส้มจึงไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกับแป้ง ส่วนการทำครั้งที่2นั้น ได้แป้งที่มีเนื้อนุ่มมีความละเอียดมากกว่าเดิม และกลุ่มดิฉันเติมน้ำให้เยอะกว่าครั้งแรก แป้งได้โดนความร้อนสารส้มจึงผสมเป็นเนื้อเดียวกับแป้ง และได้รู้เทคนิคแล้วจากการทำครั้งแรก จึงทำให้ครั้งที่2นั้นได้แป้งโดว์ออกมาตามที่ต้องการ และการทำแป้งโดว์ แป้งโดว์สามารถใช้เป็นสื่อการสอนที่สามารถใช้แทนดินน้ำมันได้เป็นอย่างดี และจะคล้ายกับดินน้ำมัน แต่ต่างกันที่ แป้งโดว์นั้นสามารถผลิตได้เองโดยการทำที่ไม่ยุ่งยาก ประหยัดเงิน และที่สำคัญแป้งโดว์จะไม่มีสารพิษ ซึ่งนำมาใช้กับเด็กได้โดยเด็กจะไม่ได้รับอันตราย แป้งโดว์มีประโยชน์หลายอย่างสำหรับเด็กปฐมวัย อย่างเช่น พัฒนาทักษะในการใช้ความคิดให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

ความรู้สึกในการเรียนวันนี้ ดิฉันรู้สึกตื่นเต้น และดีใจที่ได้ทำแป้งโดว์ ซึ่งดิฉันไม่เคยทำมาก่อน และไม่รู้ว่าขั้นตอนในการทำเป็นอย่างไร รู้สึกสนุก รวมทั้งมีความสุขที่ได้ทำกับเพื่อนๆหลายๆคนด้วยค่ะ
บรรยากาศภายในห้อง สำหรับบรรยากาศในห้องวันนี้ก็เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ และบรรยากาศที่น่าเรียน

งานที่อาจารย์ได้มอบหมาย ในคาบหน้าอาจารย์ให้เตรียมหาอุปกรณ์ และวัสดุที่หลือใช้รอบๆตัว นำมาประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์การเล่นแป้งโดว์ โดยให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน
วันนี้ดิฉันได้นำเกมการศึกษาที่ดิฉันทำมาใหม่มาส่งอาจารย์ด้วยค่ะ
วัตถุประสงค์ของเกมจับคู่ภาพเหมือนกันแต่ขนาดต่างกันเพื่อ
1.ฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต
2.ฝึกให้เด็กรู้จักใช้ประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
3.ให้เด็กรู้จักผลไม้ในชีวิตประจำวัน

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทีกการเรียนรู้ครั้งที่12 09/09/2553

สวัสดีค่ะอาจารย์ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนสอบ ข้อสอบทั้งหมดมี 3 ข้อ อาจารย์นัดสอบเวลา 09.00 น. และหลังจากสอบเสร็จอาจารย์ได้สนทนากับนักศึกษา และอาจารย์ให้นำเกมการศึกษาของแต่ละบุคคลมาส่งในคาบหน้า และในวันนี้ให้ส่งงานที่ค้างไว้ คือ บ๊อปอัพ และอาจารย์ให้นักศึกษาเข้าห้องประชุม(อาจารย์ไม่เช็คชื่อแล้วแต่ความประสงค์ของแต่ล่ะคนว่าจะเข้า หรือไม่เข้าก็ได้) และดิฉันก็ได้เข้าไปในห้องประชุมค่ะ แต่สักพักก็กลับ เพราะไม่มีเก้าอี้นั่งค่ะ

ความรู้สึกในการเรียนวันนี้ รู้สึกว่าได้ทดสอบความรู้ของดิฉันด้วยจากการทำข้อสอบจะได้รู้ว่าที่เรียนมามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด รู้สึกว่าการสอบของอาจารย์ไม่เข็มงวดเรื่องของการนั่งสอบ เพราะจะได้ทดสอบความซื่อสัตย์ของนักศึกษาด้วย รู้สึกว่าที่เพื่อนมีปัญหาจากเรื่องเล็ก กลายเป็นเรื่องที่ต้องคุยกันนาน ดิฉันจึงรู้สึกว่าเสียเวลาในการสอบไปนิดนึงค่ะ
บรรยากาศภายในห้อง บรรยากาศตอนแรกก็ดีค่ะน่าเรียน แต่พอช่วงใกล้สอบเริ่มไม่น่าสอบ เพราะเกิดปัญหาเล็กน้อยกับเพื่อน จึงทำให้บรรยาศภายในห้องเสียไปเลยค่ะ



วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11 02/09/2553

สวัสดีค่ะอาจารย์ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้มาเรียนพร้อมกับกลุ่มที่1 และวันนี้อาจารย์ให้ส่งงาน แต่งานยังไม่เสร็จสมบูรณ์อาจารย์จึงให้ดูบ๊อปอัพในหลายๆรูปแบบ พร้อมทั้งให้คำแนะนำและเทคนิคในการทำบ๊อปอัพอีกด้วยว่าสามารถนำวิธีการทำหลายรูปแบบมาผสมผสานในการทำป็อบอัพได้ และอาจารย์ให้เล่นเกมต่างๆ โดยสลับเปลี่ยนกันเป็นกลุ่ม จนครบทั้ง 5 เกม
แต่งานในวันนี้บ้างชิ้นก็ส่งไปแล้ว เหลือแต่ป๊อบอับ 3 รูปแบบ ที่ยังไม่ได้ส่งกับเกมการศึกษา แต่จะนำมาส่งในคาบหน้า

ความรู้สึกในการเรียนวันนี้ รู้สึกว่าสนุกที่ได้เล่นเกมร่วมกับเพื่อนๆ และรู้สึกว่าได้ใช้ความคิดและวิธีที่จะเล่นเกมต่างๆ บางเกมนั้นดิฉันก็ไม่เข้าใจ เพราะไม่เคยเล่น
มาก่อน บรรยากาศภายในห้อง บรรยากาศดี เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ และเสียงดังของดิฉันกับเพื่อนๆที่เล่นเกมกันค่ะ




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10 26/08/2553

สวัสดีค่ะอาจารย์ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ไม่ได้ทำการสอน อาจารย์ติดภาระกิจ เนื่องจากอาจารย์ติดงานของทางมหาวิทยาลัย แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานของอาทิตย์ที่แล้วที่ยังทำไม่เสร็จให้ทำให้เสร็จสมบูรณ์และนำมาส่งในคาบหน้า

ความรู้สึกในวันนี้ ดิฉันรู้สึกว่าถึงอาจารย์จะติดภาระกิจ แต่อาจารย์ก็ไม่ลืมนักศึกษา อาจารย์ได้มาสั่งงาน