สวัสดีค่ะอาจารย์ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียน การสอนในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนทำแป้งโดว์ โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ6คน และแต่ละกลุ่มต้องเตรียมอุปกรณ์มาสำหรับที่จะทำแป้งโดว์ โดยกลุ่มของดิฉันได้เตรียมอุปกรณ์มาแต่เตรียมมาไม่ครบ สิ่งที่ไม่ครบ คือ กะละมัง น้ำมันมะกอก ตะหลิว ในส่วนที่มีไม่ครบนั้นก็จะใช้อุปกรณ์ของอาจารย์ ส่วนอุปกรณ์ที่กลุ่มของดิฉันได้เตรียมมา มีดังนี้ กะทะ แป้งสาลี สารส้มบดละเอียด เกลือ น้ำมันพืช
ส่วนผสมที่ใช้ทำแป้งโดว์
แป้งสาลี น้ำมันพืช น้ำมันมะกอก น้ำเปล่า สารส้มบดละเอียด เกลือ และสีผสมอาหาร
ขั้นตอนการทำแป้งโดว์
ตวงแป้งสาลี 2 ถ้วย ผสมเกลือ 2 ถ้วย สารส้มบดละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ ผสมเข้าให้เป็เนื้อเดียวกัน ใส่น้ำเปล่าให้แป้งเหลวพอสมควร จากนั้นก็นำไปตั้งไฟแล้วกวนให้แป้งสุกพอดีไม่เหลว หรือแห้งเกินไป แล้วยกลงจากไฟ จากนั้นก็นำแป้งที่ได้มาผสมกับสีผสมอาหารที่เตรียมไว้ เราก็จะได้แป้งโดว์ที่เล่นได้เหมือนดินน้ำมัน และปลอดภัยตามที่ต้องการ
การทำแป้งโดว์กลุ่มของดิฉันได้ทำถึง 2 ครั้ง การทำครั้งแรกมีปัญหาเล็กน้อย เนื่องจากแป้งจะแข็งตัวไปนิดนึง แต่ก็สามารถเล่นได้ และมีเกร็ดของสารส้มปะปนอยู่ในแป้งเป็นจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด แป้งที่ได้จึงทำให้ระคายมือ สาเหตุนั้นก็มาจากการบดสารส้มไม่ละเอียด เติมน้ำน้อยเกินไปจึงไม่สามารถตั้งไฟได้นาน สารส้มจึงไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกับแป้ง ส่วนการทำครั้งที่2นั้น ได้แป้งที่มีเนื้อนุ่มมีความละเอียดมากกว่าเดิม และกลุ่มดิฉันเติมน้ำให้เยอะกว่าครั้งแรก แป้งได้โดนความร้อนสารส้มจึงผสมเป็นเนื้อเดียวกับแป้ง และได้รู้เทคนิคแล้วจากการทำครั้งแรก จึงทำให้ครั้งที่2นั้นได้แป้งโดว์ออกมาตามที่ต้องการ และการทำแป้งโดว์ แป้งโดว์สามารถใช้เป็นสื่อการสอนที่สามารถใช้แทนดินน้ำมันได้เป็นอย่างดี และจะคล้ายกับดินน้ำมัน แต่ต่างกันที่ แป้งโดว์นั้นสามารถผลิตได้เองโดยการทำที่ไม่ยุ่งยาก ประหยัดเงิน และที่สำคัญแป้งโดว์จะไม่มีสารพิษ ซึ่งนำมาใช้กับเด็กได้โดยเด็กจะไม่ได้รับอันตราย แป้งโดว์มีประโยชน์หลายอย่างสำหรับเด็กปฐมวัย อย่างเช่น พัฒนาทักษะในการใช้ความคิดให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
ความรู้สึกในการเรียนวันนี้ ดิฉันรู้สึกตื่นเต้น และดีใจที่ได้ทำแป้งโดว์ ซึ่งดิฉันไม่เคยทำมาก่อน และไม่รู้ว่าขั้นตอนในการทำเป็นอย่างไร รู้สึกสนุก รวมทั้งมีความสุขที่ได้ทำกับเพื่อนๆหลายๆคนด้วยค่ะ
บรรยากาศภายในห้อง สำหรับบรรยากาศในห้องวันนี้ก็เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ และบรรยากาศที่น่าเรียน
งานที่อาจารย์ได้มอบหมาย ในคาบหน้าอาจารย์ให้เตรียมหาอุปกรณ์ และวัสดุที่หลือใช้รอบๆตัว นำมาประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์การเล่นแป้งโดว์ โดยให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน
ส่วนผสมที่ใช้ทำแป้งโดว์
แป้งสาลี น้ำมันพืช น้ำมันมะกอก น้ำเปล่า สารส้มบดละเอียด เกลือ และสีผสมอาหาร
ขั้นตอนการทำแป้งโดว์
ตวงแป้งสาลี 2 ถ้วย ผสมเกลือ 2 ถ้วย สารส้มบดละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ ผสมเข้าให้เป็เนื้อเดียวกัน ใส่น้ำเปล่าให้แป้งเหลวพอสมควร จากนั้นก็นำไปตั้งไฟแล้วกวนให้แป้งสุกพอดีไม่เหลว หรือแห้งเกินไป แล้วยกลงจากไฟ จากนั้นก็นำแป้งที่ได้มาผสมกับสีผสมอาหารที่เตรียมไว้ เราก็จะได้แป้งโดว์ที่เล่นได้เหมือนดินน้ำมัน และปลอดภัยตามที่ต้องการ
การทำแป้งโดว์กลุ่มของดิฉันได้ทำถึง 2 ครั้ง การทำครั้งแรกมีปัญหาเล็กน้อย เนื่องจากแป้งจะแข็งตัวไปนิดนึง แต่ก็สามารถเล่นได้ และมีเกร็ดของสารส้มปะปนอยู่ในแป้งเป็นจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด แป้งที่ได้จึงทำให้ระคายมือ สาเหตุนั้นก็มาจากการบดสารส้มไม่ละเอียด เติมน้ำน้อยเกินไปจึงไม่สามารถตั้งไฟได้นาน สารส้มจึงไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกับแป้ง ส่วนการทำครั้งที่2นั้น ได้แป้งที่มีเนื้อนุ่มมีความละเอียดมากกว่าเดิม และกลุ่มดิฉันเติมน้ำให้เยอะกว่าครั้งแรก แป้งได้โดนความร้อนสารส้มจึงผสมเป็นเนื้อเดียวกับแป้ง และได้รู้เทคนิคแล้วจากการทำครั้งแรก จึงทำให้ครั้งที่2นั้นได้แป้งโดว์ออกมาตามที่ต้องการ และการทำแป้งโดว์ แป้งโดว์สามารถใช้เป็นสื่อการสอนที่สามารถใช้แทนดินน้ำมันได้เป็นอย่างดี และจะคล้ายกับดินน้ำมัน แต่ต่างกันที่ แป้งโดว์นั้นสามารถผลิตได้เองโดยการทำที่ไม่ยุ่งยาก ประหยัดเงิน และที่สำคัญแป้งโดว์จะไม่มีสารพิษ ซึ่งนำมาใช้กับเด็กได้โดยเด็กจะไม่ได้รับอันตราย แป้งโดว์มีประโยชน์หลายอย่างสำหรับเด็กปฐมวัย อย่างเช่น พัฒนาทักษะในการใช้ความคิดให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
ความรู้สึกในการเรียนวันนี้ ดิฉันรู้สึกตื่นเต้น และดีใจที่ได้ทำแป้งโดว์ ซึ่งดิฉันไม่เคยทำมาก่อน และไม่รู้ว่าขั้นตอนในการทำเป็นอย่างไร รู้สึกสนุก รวมทั้งมีความสุขที่ได้ทำกับเพื่อนๆหลายๆคนด้วยค่ะ
บรรยากาศภายในห้อง สำหรับบรรยากาศในห้องวันนี้ก็เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ และบรรยากาศที่น่าเรียน
งานที่อาจารย์ได้มอบหมาย ในคาบหน้าอาจารย์ให้เตรียมหาอุปกรณ์ และวัสดุที่หลือใช้รอบๆตัว นำมาประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์การเล่นแป้งโดว์ โดยให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน
วันนี้ดิฉันได้นำเกมการศึกษาที่ดิฉันทำมาใหม่มาส่งอาจารย์ด้วยค่ะ
วัตถุประสงค์ของเกมจับคู่ภาพเหมือนกันแต่ขนาดต่างกันเพื่อ
1.ฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต
2.ฝึกให้เด็กรู้จักใช้ประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
3.ให้เด็กรู้จักผลไม้ในชีวิตประจำวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น